เหล็กเส้น อุปกรณ์ก่อสร้างยอดฮิต มีกี่ชนิดและดียังไง ทำไมคนถึงนิยมใช้กัน

Table of Contents

เหล็กเส้น เป็นส่วนประกอบในงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะบ้านหรืออาคารพาณิชย์ทั่วไป และเหล็กเส้นเองก็มีหลายประเภททั้งเหล็กเบา เหล็กเส้นโรงใหญ่ โรงเล็ก ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งานประเภทไหน วันนี้เรามาทำความรู้จักเหล็กเส้นให้มากขึ้นกันดีกว่า

เหล็กเส้นคืออะไร

เหล็กเส้นคือ เหล็กเสริมที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างตามบ้าน อาคารพาณิชย์ทั่วไป คอนโด หรือไว้สำหรับงานเสริมคอนกรีต งานถนน งานสะพานต่าง ๆ ซึ่งการใช้งานเหล็กเส้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ก่อสร้างที่แตกต่างกันไป เพื่อที่จะระบุได้ว่าควรจะใช้เหล็กเส้นประเภทไหนกับงานชนิดใด เรามาอ่านรายละเอียดกันต่อดีกว่า

การผลิตเหล็กเส้น

  • การผลิตเหล็กเส้น จะใช้วัตถุเศษเหล็กเพื่อนำเข้าเตาอาร์ตไฟฟ้า EAF ใช้แม่เหล็กดูดใส่ถังบรรจุป้อนลงเตาพร้อมหินปูน และวัตถุถ่านโค้กในปริมาณที่เหมาะสม  โดยเตาหลอมที่ใช้มีขนาด 30 ตัน 
  • และในการหลอมเหล็กจะใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านทางแท่ง Graphite Electrode 
  • จากนั้นจะใช้ Oxygen Lancing เป่าไล่สารเจือปน และน้ำเหล็กออก โดยการปรุงแต่งส่วนผสมทางเคมีเพื่อให้มีส่วนผสมทางเคมีที่ตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม 
  • และเมื่อเสร็จแล้ว น้ำเหล็กจะถูกเทใส่เบ้ารับน้ำหนักเหล็กที่อุณหภูมิ 1650 องศาเซลเซียสเพื่อนำไปหล่อเป็นเหล็กแท่ง Billet ต่อไป

เหล็กเส้นมีกี่ชนิด

1. เหล็กเส้นกลม Round Bar

ภาษาช่างเรียกว่าเหล็ก RB โดยมีลักษณะภายนอกผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มิลลิเมตร มีหน้าที่คือไว้ยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ส่วนมากใช้สำหรับงานโครงสร้าง ปลอกเสา ปลอกคาน งานก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง  

2. เหล็กข้ออ้อย Deformed Bar

เป็นเหล็กที่มีลักษณะเป็นเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวเหล็กมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ ตลอดเส้น โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทั่วไปคือ 12-16 มม.มีความยาวที่ 10 และ 12 เช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม เหมาะสำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างที่แข็งแรง เช่น อาคารสูง ๆ คอนโดมิเนียม สะพาน สนามบิน ที่สามารถรองรับน้ำหนักมากได้

เหล็กเส้นมีคุณสมบัติอย่างไร

  • เหล็กเส้นสามารถป้องกันการกัดกร่อน และการเกิดสนิมได้ โดยให้นำไปเคลือบกันสนิมก่อน
  • มีความทนไฟ ทนความร้อนได้ดี
  • มีความแข็งแรง และทนทานสูงกว่าคอนกรีต 
  • มีอายุการใช้งานยาวนาน
  • เหล็กเส้นมีหลายขนาด หลายรูปแบบให้เลือกใช้เข้ากับงานก่อสร้าง
  • สามารถนำมารีไซเคิล หรือมาหลอมรวมแล้วเอาไปใช้ซ้ำได้

เหล็กเส้นประโยชน์และการใช้งาน มีอะไรบ้าง

  1. ช่วยรองรับเรื่องแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากเหล็กมีความยืดหยุ่นตัวสูง
  2. ช่วยลดการใช้เสาเข็ม เพราะโครงสร้างเหล็กมีน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต
  3. สามารถสร้างในพื้นที่เฉพาะที่มีข้อจำกัดสูงได้ดี
  4. สามารถนำเหล็กเส้นกลับมาใช้ได้อีกเมื่อรื้อถอนแล้ว
  5. เหล็กเส้นติดตั้งง่าย สร้างได้รวดเร็ว
  6. ลดการใช้ไม้ ในการนำเหล็กเส้นเป็นโครงสร้างบ้าน
  7. ช่วยให้ภายในบ้านดูกว้าง โปร่ง โล่ง เพิ่มพื้นที่การใช้สอยมากขึ้น

การใช้งานเหล็กเส้น

ปกติทั่วไปเหล็กเส้นจะใช้เสริมคอนกรีต ใช้เป็นเหล็กอยู่ในโครงสร้าง แต่ก็มีการใช้งานเหล็กเส้นอีกหลากหลายดังนี้

  1. เหล็กเส้นใช้ทำเป็นตะแกรงสำหรับเทพื้นคอนกรีต
  2. ใช้ทำเป็นเหล็กปลอก โดยใช้ขนาด 6 มม.และขนาด 9 มม.
  3. สำหรับทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กในเสาขนาดใหญ่ ได้แก่เสารถไฟฟ้า เสาอาคาร
  4. ใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กในผนังที่ต้องการความแข็งแรง ได้แก่ผนังรถไฟใต้ดิน 
  5. ใช้ในงานกลึงหัวน็อตต่าง ๆ 

ขนาดของเหล็กเส้น และ น้ำหนักเหล็กเส้น

1. เหล็กเส้นกลม Round Bars

จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางและเหล็กเส้นน้ำหนักต่อเส้นประมาณขนาด 9 มิลลิเมตร ความยาวประมาณ 10 เมตร

ตารางขนาดเหล็กเส้นกลม

ขนาดเหล็กเส้นกลม

น้ำหนัก กก.
6 มม. x 10 มม. 2.22
9 มม. x 10 มม. 4.99
12 มม. x 10 มม. 8.88
15 มม. x 10 มม. 13.87
19 มม. x 10 มม. 22.26
25 มม. x 10 มม. 38.53

2. เหล็กเส้นแบน Flat Bar

ขนาดที่นิยมคือ ความหนา 3 มิลลิเมตร ความยาว 6 เมตร 

ตารางขนาดเหล็กเส้นแบน

ความกว้าง 3.0 mm. 4.5 mm. 6.0 mm. 9.0 mm. 12.0 mm. 15.0 mm.

19.0 mm.

25.0 mm.
25 mm. 3.53 530 7.07 10.6 14.13 17.66 22.37 —-
32 mm. 4.52 6.78 9.04 13.56 18.09 22.61 28.64 37.68
38 mm. 5.37 8.05 10.74 16.11 21.48 26.65 34.01 44.75
65 mm. 7.07 10.6 14.13 212 28.26 3533 44.75 58.88
75 mm. 9.18 13.78 18.37 27.55 36.74 45.92 58.17 76.54
100 mm. 10.6 15.9 212 31.79 42.39 52.99 67.12 88.31
50 mm. 14.13 212 28.26 42.39 56.52 70.65 89.49 117.75

3. เหล็กเส้นข้ออ้อย Deformed Bar

มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-40 มิลลิเมตร ความยาวประมาณ 10-12 เมตร

ตารางขนาดเหล็กเส้นข้ออ้อย

ขนาดเส้นข้ออ้อย น้ำหนัก
10 มม.x10 ม. SD 40

6.16

10 มม.x12 ม. SD 40 7.39
12 มม.x10 ม. SD 40 8.88
12 มม.x12 ม. SD 40 10.66
16 มม.x10 ม. SD 40 15.78
16 มม.x12 ม. SD 40 18.94
20 มม.x10 ม. SD 40 24.66
20 มม.x12 ม. SD 40 29.59
25 มม.x10 ม. SD 40 38.53
25 มม.x10 ม. SD 40 46.24
28 มม.x10 ม. SD 40 48.34
28 มม.x12 ม. SD 40 58.00
28 มม.x10 ม. SD 50 48.34
28 มม.x12 ม. SD 50 58.00
32 มม.x10 ม. SD 50 63.13
32 มม.x12 ม. SD 50 75.75

สำหรับผู้รับเหมาที่กำลังมองหาเหล็กเส้นชนิดต่าง ๆ ที่มีหลายขนาดหลายรูปแบบให้เลือกคุณภาพดีได้ตรงตามมาตรฐาน และราคาย่อมเยา หรือถ้าอยากรู้ว่าเหล็กเส้นยี่ห้อไหนดี ลองแวะเข้ามาหาเรา Buildmate   แหล่งรวมวัสดุที่ครบวงจรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน มีสินค้าวัสดุก่อสร้างที่มากมายหลายประเภท โดยบริการของเราที่ดูแลใกล้ชิดเป็นมิตร ไม่ทิ้งงาน เรามี Call Center 24 ชั่วโมง ติดต่อง่าย สะดวกรวดเร็ว สามารถโทรมาปรึกษางานก่อสร้างกับผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี ที่สำคัญราคาถูกใจคุ้มค่าแน่นอน

เรามีสินค้าประเภทงานก่อสร้างมากมายหลายประเภท ได้แก่ งานเหล็ก ปูนซีเมนต์ ไม้ประตูและหน้าต่าง งานไฟฟ้าและอุปกรณ์ งานสีและเคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ก่อสร้างต่าง ๆ เครื่องมือช่างและอุปกรณ์มากมาย สินค้าของเราทุกชิ้นเราจัดส่งไวถึงหน้าบ้าน สามารถเข้าชมสินค้าของเราได้ที่ Buildmate ตลอด 24 ชั่วโมง

คำถามที่พบบ่อย FAQ

วิธีซ่อมเหล็กเส้นเป็นสนิมเพดาน

  1. ให้ทำการสกัดคอนกรีตที่เหล็กเป็นสนิมออกก่อน
  2. ทำการขัดสนิมในเหล็กเสริมออกให้หมด
  3. ทำความสะอาดเหล็กเสริมคอนกรีตให้เรียบร้อย
  4. ทาน้ำยาเคลือบป้องกันสนิม และน้ำยาประสานคอนกรีต
  5. ตรวจสอบความเรียบร้อย แล้วทำการติดตั้งไม้สำหรับการเทคอนกรีต
  6. ผสมน้ำยาประสานคอนกรีตเข้ากับซีเมนต์สำหรับคอนกรีตโครงสร้างผสมคอนกรีตกำลังสูงแบบไม่หดตัว และหินเกล็ด น้ำให้เข้ากัน แล้วเทใส่ลงในไม้แบบที่เตรียมไว้
  7. รอให้คอนกรีตแข็งตัว ทำการถอดแบบและแต่งผิว เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

เหล็กเส้นที่ใช้งานก่อสร้างเป็นเหล็กกลุ่มใด

งานก่อสร้างประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก จะนิยมใช้เป็นเหล็กเส้นกลมเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มม. หรือ เหล็กข้ออ้อยเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-40 มม.

เหล็กเส้นยาวกี่เมตร

เหล็กเส้นกลมที่นิยมใช้ทั่วไป เป็นเหล็กเส้นกลม SR24 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มม. ส่วนความยาวตามมาตรฐานคือ 10 ม. และ 12 ม.