ซ่อมฝ้าเพดานน้ำรั่วจากห้องน้ำชั้นบนได้ง่าย ๆ

Table of Contents

หนึ่งในปัญหารั่วซึมยอดนิยมที่มักจะต้องซ่อมกันบ่อย ๆ คือ การซ่อมฝ้าเพดาน ที่เกิดจากน้ำรั่วซึมจากห้องน้ำชั้นบน ซึ่งมักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากห้องน้ำเป็นห้องที่เกี่ยวข้องกับระบบประปาและความชื้นโดยตรง หากก่อสร้างงานระบบไม่ได้มาตรฐานก็อาจทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นได้ แต่ปัญหาน้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบนนั้นก็แก้ไขได้เพียงเริ่มต้นจากต้นเหตุ แต่จะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ไปดูกัน!

ตำแหน่งที่มักพบน้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบน

ปัญหาน้ำรั่วซึมในห้องน้ำ

ภาพ: ปัญหาน้ำรั่วซึมในห้องน้ำ

เนื่องจากห้องน้ำเป็นห้องที่เกี่ยวข้องกับระบบประปาโดยตรง ปัญหารั่วซึมจึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาได้ง่าย ๆ หากไม่ติดตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในห้องน้ำให้ได้มาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลให้น้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบนได้ โดยตำแหน่งมักพบการรั่วซึมได้บ่อยได้แก่

  1. ท่อระบายน้ำ บริเวณตะแกรงระบายน้ำทิ้งหรือ Floor Drain โดยมักเกิดบริเวณข้อต่อที่ติดกับท่อระบายน้ำ
  2. โถสุขภัณฑ์ การติดตั้งโถสุขภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดการรั่วซึมตามมา
  3. แนวรอยต่อระหว่างพื้นและผนังห้องน้ำ เกิดจากการทำกันซึมที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดการรั่วซึมขึ้นได้ง่ายกว่าจุดอื่น ๆ

 

สาเหตุของฝ้าเพดานน้ำรั่ว

1. ระบบประปาชำรุด

ระบบประปาบนฝ้าเพดานชำรุด

ภาพ: ระบบประปาบนฝ้าเพดานชำรุด

ระบบท่อน้ำประปาบนฝ้าเพดาน ทั้งท่อน้ำดีและท่อระบายน้ำทิ้ง ต่างก็มีโอกาสเกิดการรั่วซึมได้ทั้งสิ้น โดยสาเหตุอาจเกิดจากการติดตั้งท่อน้ำทิ้งไว้ไม่ดี ทำให้น้ำไหลลงจากปากท่อน้ำทิ้งด้านนอก ซึ่งจุดนี้เป็นจุดแรก ๆ ที่ควรตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุฝ้าเพดานรั่ว

2. ติดตั้งข้อต่อท่อระบายน้ำไม่สนิท

ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ

ภาพ: ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ

ตำแหน่งท่อระบายน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบนที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุจากการติดตั้ง Floor Drain หรือตะแกรงระบายน้ำทิ้ง โดยเจาะและติดตั้งไม่ถูกวิธีทำให้ข้อต่อของ Floor Drain กับข้อต่อท่อระบายน้ำไม่เข้าล็อกกัน จึงทำให้เกิดการรั่วซึมตามมาได้

3. ติดตั้งโถสุขภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน

โถสุขภัณฑ์รั่วซึม

ภาพ: โถสุขภัณฑ์รั่วซึม

นอกจากท่อระบายน้ำทิ้งจะทำให้น้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบนแล้ว การติดตั้งโถสุขภัณฑ์ไม่ตรงกับรูท่อที่เจาะลงพื้นจะทำให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำทิ้งได้ไม่หมด ส่งผลให้เกิดการรั่วซึมลงมายังชั้นล่าง และเกิดปัญหาฝ้าเพดานรั่วตามมาได้

4. ปูกระเบื้องห้องน้ำผิดวิธี

กระเบื้องโก่งตัวจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน

ภาพ: กระเบื้องโก่งตัวจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน

ปัญหาน้ำซึมจากห้องน้ำอาจเกิดจากการปูกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างการปูกระเบื้องแบบซาลาเปา ซึ่งเป็นการปูกระเบื้องด้วยการแปะกาวซีเมนต์ลงบนบางส่วนของแผ่นกระเบื้อง ทำให้เกิดช่องว่างด้านหลังแผ่นกระเบื้อง และทำให้น้ำและความชื้นเข้าไปสะสมตัวอยู่ด้านหลังแผ่นกระเบื้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาพื้นกระเบื้องโก่งตัว ระเบิด หลุดล่อน และมีน้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบนได้

5. การทำกันซึมที่ไม่มีคุณภาพ

การทำกันซึมบริเวณรอยต่อพื้นและผนัง

ภาพ: การทำกันซึมบริเวณรอยต่อพื้นและผนัง

การทำกันซึมพื้นห้องน้ำหรือกันซึมก่อนปูกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นอีกสาเหตุของน้ำซึมจากห้องน้ำชั้นบน โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นและผนังห้องน้ำที่มักเกิดการรั่วซึมได้ง่ายมากกว่าบริเวณอื่น ๆ หากไม่ทำกันซึมด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพและวิธีที่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้

หลังจากได้ทราบถึงตำแหน่งที่มักพบการรั่วซึมกันไปแล้ว มาดูวิธีซ่อมฝ้าเพดานน้ำรั่วที่ต้นเหตุอย่างห้องน้ำชั้นบนกันต่อดีกว่า!

 

ซ่อมฝ้าเพดานน้ำรั่วจากห้องน้ำชั้นบนจากต้นเหตุ

1. ตรวจสอบบริเวณท่อที่คาดว่ารั่วซึมแล้วซ่อมแซมทันที

ทดลองพันผ้าหรือทิชชู่รอบท่อที่คาดว่ารั่วซึม

ภาพ: ทดลองพันผ้าหรือทิชชู่รอบท่อที่คาดว่ารั่วซึม

อันดับแรกเริ่มต้นด้วยการเปิดฝ้าเพดานบริเวณจุดที่คาดว่ามีการรั่วซึม จากนั้นใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่พันรอบ ๆ ท่อประปาบริเวณจุดที่คาดว่ามีการรั่วซึม หากมีความชื้นเกาะตัวอยู่ที่ผ้าหรือทิชชู่แสดงว่าจุดนั้นมีการรั่วซึมอยู่จริง ๆ ควรรีบซ่อมแซมท่อตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย

2. สกัดกระเบื้องเดิมออกแล้วปูกระเบื้องใหม่ให้ถูกวิธี

สกัดพื้นกระเบื้องเดิมออก

ภาพ: สกัดพื้นกระเบื้องเดิมออก

นอกจากปัญหาที่ท่อประปาแล้ว การรั่วซึมจากห้องน้ำชั้นบนก็เป็นอีกหนึ่งปัญหารั่วซึมที่พบได้บ่อยไม่แพ้กัน จึงควรแก้ไขที่ต้นเหตุโดยตรง ด้วยการสกัดพื้นกระเบื้องเดิมออกแล้วทำกันซึมห้องน้ำเสียใหม่ ก่อนปูกระเบื้องพื้นห้องน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

3. ทำกันซึมก่อนปูกระเบื้องด้วยกันซึมที่ได้มาตรฐาน

ทาซีเมนต์กันซึมให้ถูกวิธี

ภาพ: ทาซีเมนต์กันซึมให้ถูกวิธี

จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ซีเมนต์กันซึมชนิดยืดหยุ่น แบบส่วนผสมเดียว

ภาพ: จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ซีเมนต์กันซึมชนิดยืดหยุ่น แบบส่วนผสมเดียว

ทำกันซึมให้ถูกวิธีก่อนปูกระเบื้องโดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพอย่างจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ซีเมนต์กันซึมชนิดยืดหยุ่น แบบส่วนผสมเดียว ใช้งานง่ายโดยทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบร้อย แล้วผสมจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์กับน้ำตามอัตราส่วน จากนั้นใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาให้ทั่วพื้นผิวทั้งหมด 2 รอบ ห่างกัน 30-90 นาที แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นจึงปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ โดยใช้เกรียงปาดกาวซีเมนต์ให้เป็นร่องก่อนปูกระเบื้อง และทำยาแนวให้เรียบร้อยเพื่อความสมบูรณ์แบบของพื้นกระเบื้องห้องน้ำ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก jorakay >> https://www.jorakay.co.th/blog/owner/deck-and-roof/how-to-fix-leaking-ceiling-because-upper-bathroom