ไม้อัดกันน้ำแตกต่างจากไม้อัดทั่วไปอย่างไร และเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

Table of Contents

ไม้อัดเป็นอีกหนึ่งวัสดุในงานช่างและงานก่อสร้างที่นิยมใช้กันมากไม่ว่าจะเป็น build in งานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายใน แต่ไม้อัดก็มีข้อจำกัดตรงที่โดนความชื้นได้ง่าย ถ้าอากาศชื้นหรือโดนน้ำมักจะทำให้ไม้อัดบวมขึ้นมาได้ ทางแก้หนึ่งของปัญหานี้ก็คือการเปลี่ยนมาใช้ไม้อัดกันน้ำ ซึ่งบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับไม้อัดกันน้ำกันดีกว่ามันคืออะไร มีคุณสมบัติเด่นอะไร ไม้อัดกันน้ํา ราคาเท่าไหร่ แล้วไม้อัดกันน้ำดีกว่าไม้อัดธรรมดาอย่างไร เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ถ้าอยากรู้แล้วก็ตามไปดูพร้อมกันเลย

ไม้อัดกันน้ำ คืออะไร

ไม้อัดกันน้ำหรือเรียกอีกชื่อว่าไม้อัดยางเป็นวัสดุที่เกิดจากการนำไม้แผ่นบางหลายแผ่นมาติดกันด้วยกาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นไม้สน (pine wood) และไม้ยาง (rubber wood) โดยจะวางอัดให้ไม้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกันทำให้เกิดความแน่นหนา ทนต่อแรงบิด กันน้ำและความชื้น อีกทั้งยังหดตัวและขยายตัวได้น้อย

 

ไม้อัดกันน้ำต่างจากไม้อัดทั่วไปอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างไม้อัดกันน้ำกับไม้อัดทั่วไปอยู่ที่กระบวนการผลิต โดยไม้อัดทั่วไปนั้นเกิดจากการนำแผ่นไม้มาอัดเข้าด้วยกันตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปโดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดแผ่นไม้เข้าไว้ด้วยกัน ส่วนไม้อัดกันน้ำนั้นจะพิเศษตรงที่นำไม้มาอัดกาวรวมกันมากถึง 5 ชั้น แล้วยังเพิ่มรายละเอียดตรงที่ไม้แต่ละชั้นจะถูกจัดวางให้มีแนวเสี้ยนไม้ตั้งฉากกัน แล้วนำไปผ่านกระบวนการอัดร้อนเพื่อให้กาวแน่นติดกันมากขึ้น ทำให้ไม้อัดกันน้ํา คุณสมบัติดีและมีความแข็งแรงคงทนกว่าไม้อัดทั่วไป

 

 

ประเภทของไม้อัดกันน้ำ

1. ไม้อัดยางกับน้ำแบบทั่วไป

เป็นไม้อัดแผ่นบางอัดกันด้วยกาวชนิดพิเศษ แล้วผ่านกระบวนการความร้อน ทำให้กาวเชื่อมกันแน่นมากขึ้น เหมาะกับนำมาทำเป็นแบบหล่อปูน สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

2. ไม้อัดกันน้ำเฟอร์นิเจอร์

ความโดดเด่นก็คือจะมีผิวเรียบเนียน สามารถขัดและทาสีได้ เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่ง หรือใช้เป็นแผ่นสำหรับวัสดุปิดผิว เช่น ลามิเนต ไฮเพรสเชอร์

3. ไม้อัดยางกันน้ำไส้โอเอสบี (OSB)

พิเศษกว่าไม้อัดกันน้ำทั่วไปตรงที่ทนความชื้นสูง เพราะใช้กาวที่สามารถกันน้ำได้ ผิวหน้าเรียบ สามารถนำมาขัดและทาสีได้ เหมาะกับงานตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในพื้นที่มีความชื้น

 

คุณสมบัติเด่นของไม้อัดกันน้ำ

1. แข็งแรงทนทาน

ด้วยกระบวนการผลิตที่แตกต่างจากไม้อัดทั่วไปจึงทำให้ไม้อัดกันน้ำมีความพิเศษในเรื่องของความทนทานต่อสภาวอากาศและความชื้น ไม่ว่าจะอากาศร้อน อากาศเย็น หรือฝนตกก็ไม่ทำให้ไม้ชื้นหรือบวมได้ นอกจากนั้นยังหนาแน่นไม่แตกหักง่าย

2. กันน้ำและเชื้อรา

ขึ้นชื่อว่าไม้อัดกันน้ำก็ต้องมีคุณสมบัติกันน้ำและความชื้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำร้อน น้ำเย็น หรือแม้แต่ไอน้ำในอากาศก็ไม่สามารถสร้างความเสียหายได้ หมดปัญหาไม้บวมน้ำ ไม้หดตัว หรือบิดรูปไปได้เลย แน่นอนว่าเมื่อไม้ไม่ชื้นก็ทำให้ไม่เกิดเชื้อรา มีอายุการใช้งานที่ยาวกว่าไม้อัดธรรมดาทั่วไป

3. ความยืดหยุ่นสูง

ไม้อัดยางมีความยืดหยุ่นสูงสามารถนำมาบิดรูปให้โค้งงอเป็นทรงต่าง ๆ ได้ง่าย ตัดแต่งง่ายไม่ทำให้ไม้แตก ที่สำคัญยังรองรับแรงกระแทกและแรงกดทับได้ดี เหมาะกับงานตกแต่งภายในที่ต้องการตัดแต่งเข้ามุม

 

ไม้อัดกันน้ำเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

ไม้อัดกันน้ำสามารถนำไปประยุกต์กับงานได้หลากหลาย สามารถทำได้ทั้งงานภายนอกอาคารและภายในอาคาร เพราะมีความแข็งแรงทนแดดทนฝน ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา ฉากกั้น ระแนง พื้น ผนัง นอกจากนั้นยังนิยมนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ชั้นวางของ รวมไปถึงงานบิ้วท์อินอื่น ๆ ที่สำคัญสามารถใช้กับงานในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องซักล้าง และในสวนได้ดี เพราะไม่ต้องกังวลว่าไม้จะเสียจากการโดนน้ำและความชื้น

 

 

มาถึงบรรทัดนี้เชื่อว่าคงพอเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับไม้อัดกันน้ำมากขึ้นกันแล้ว ส่วนใครที่กำลังมองหาไม้อัดกันน้ำก็สามารถดูรายละเอียดได้ที่ buildmate ผู้นำด้านวัสดุก่อสร้างที่ครบวงจร เรามีไม้อัดคุณภาพ ราคาดีไว้ให้คุณได้เลือกสรร พร้อมผู้ช่วยที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการจัดส่งสินค้าถึงหน้าบ้านคุณ หากต้องการปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ 02-114-1978 หรือแอดไลน์ที่นี่

บทความแนะนำ

 

คำถามที่พบบ่อย FAQ

ไม้อัดกันน้ำมีกี่ขนาด

ไม้อัดกันน้ำแผ่นมาตรฐานจะอยู่ที่ขนาด 1.20×2.40 เมตร โดยจะมีความหนา 6 ขนาดด้วยกัน คือ 3 มม. 4 มม. 6 มม. 10 มม. 15 มม. และ 20 มม.

ไม้อัดกันน้ำทนทานไหม

ไม้อัดกันน้ำทนทานกว่าไหมอัดทั่วไป เพราะมีกรรมวิธีการผลิตแบบพิเศษพร้อมกับอัดกาวกันน้ำจึงทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและความชื้น อายุการใช้งานยาวกว่าไม้อัดธรรมดา

ไม้อัดกันน้ำป้องกันปลวกได้ไหม

เนื่องจากไม้อัดกันน้ำอัดกาวแบบพิเศษจึงยากที่ปลวกจะแทะได้

ไม้อัดกันน้ำ 10 มิล ราคาเท่าไหร่?

ราคาประมาณ 1,300 บาท

ไม้อัดกันน้ำ 20 มิล ราคาเท่าไหร่?

ราคาประมาณ 2,300 บาท